Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67208
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ธนพร ทองเลิศ | en_US |
dc.contributor.author | วีรนุช ทองงาม | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:32:32Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:32:32Z | - |
dc.date.issued | 2559 | en_US |
dc.identifier.citation | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 37,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560) 81-89 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-6920 | en_US |
dc.identifier.uri | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2559_37_2_416.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67208 | - |
dc.description | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาค่าความแข็งแรงยึดเฉือนของเรซินคอมโพสิตและเฟลด์สปาธิกเซรามิก เมื่อใช้สารยึดติดชนิดใหม่ คือซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟร่วมและไม่ร่วมกับสารคู่ควบไซเลน เปรียบเทียบกับการซ่อมแซมเซรามิกด้วยระบบสารยึดติดแบบดั้งเดิม วัสดุและวิธีการ: เตรียมชิ้นทดสอบเฟลด์สปาธิกเซรามิกรูปร่างทรงกระบอกจำนวน 21 ชิ้น โดยแต่ละชิ้นงานมีตำแหน่งทดสอบ 2ตำแหน่ง (42 ตำแหน่งทดสอบ) เตรียมผิวเฟลด์สปาธิกเซรามิกด้วยกรดไฮโดรฟลูออริกความเข้มข้นร้อยละ 5 นาน 60 วินาที ล้างและเป่าลมให้แห้ง สุ่มแบ่งชิ้นทดสอบเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 7 ชิ้น มี 14 ตำแหน่งทดสอบกลุ่มที่ 1 ทาสารคู่ควบไซเลนและสก็อตช์บอนด์มัลติเพอร์โพสแอดฮีซีฟ กลุ่มที่ 2 ทาสารคู่ควบไซเลนและซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟ กลุ่มที่ 3 ทาซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟ ฉายแสงสารยึดติดทั้ง 3 กลุ่มนาน 20 วินาที อุดเรซินคอมโพสิตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตรหนา 2 มิลลิเมตรลงบนแต่ละตำแหน่งทดสอบ ฉายแสง 40วินาที นำตัวอย่างทั้งหมดแช่ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำไปทดสอบค่าความแข็งแรงเฉือนโดยใช้เครื่องทดสอบสากล ด้วยความเร็วหัวกด 0.5 มิลลิเมตรต่อนาทีจนแท่งเรซินคอมโพสิตหลุด นำค่าเฉลี่ยแรงยึดเฉือนที่ได้ไปวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และหาความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการเปรียบ เทียบเชิงซ้อนชนิดทูกี้ (p<0.05) จำแนกพื้นผิวการแตกหักของแต่ละตัวอย่างด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ผลการศึกษา: กลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนมากที่สุดคือ กลุ่มที่ 2 (26.93±5.53 เมกะปาสคาล) ตาม ด้วยกลุ่มที่ 1 (26.74±4.58 เมกะปาสคาล) และกลุ่มที่ 3(18.51±4.24 เมกะปาสคาล) โดยพบว่าค่าความแข็งแรงยึดเฉือนของกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ใช้สารคู่ควบไซเลนร่วมกับซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟมีค่ามากกว่ากลุ่มที่ใช้ซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ลักษณะความล้มเหลวที่พบส่วนใหญ่เป็นแบบความเชื่อมแน่นล้มเหลวในเฟลด์สปาธิกเซรามิก สรุป: การใช้สารคู่ควบไซเลนร่วมกับซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟช่วยเพิ่มค่าความแข็งแรงยึดเฉือนของเรซินคอมโพสิตและเฟลด์สปาธิกเซรามิก | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟ | en_US |
dc.subject | เฟลด์สปาธิกเซรามิก | en_US |
dc.subject | ความแข็งแรงยึดเฉือน | en_US |
dc.title | ผลของยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟต่อค่าความแข็งแรงยึดเฉือนของเรซินคอมโพสิตและเฟลด์สปาธิกเซรามิก | en_US |
dc.title.alternative | Effect of universal adhesive on shear bond strength of resin composite to feldspathic ceramic | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.