Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67470
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธัญณภัสร์ อังคทะวิวัฒน์en_US
dc.contributor.authorวิรัช พัฒนาภรณ์en_US
dc.contributor.authorชาย รังสิยากูลen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,2 (พ.ค.-ก.ย. 2561) 77-89en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_2_487.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67470-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractจุดประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อประเมินและเปรียบเทียบการกระจายเเรงเเละรูปเเบบการเคลื่อนที่ ไปทางด้านไกลกลางของกลุ่มฟันหลังบนเมื่อใช้ปริมาณเเรง ขนาด 250 กรัม โดยให้เเรงจากหลักยึดหมุดฝัง ไปยังตะขอเกี่ยวที่ระดับต่าง ๆ ได้เเก่ 0 2 4 6 และ 8 มิลลิเมตรวิเคราะห์ โดยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ โมเดลสามมิติถูกสร้างขึ้นประกอบด้วยฟันกรามน้อยบนซี่ที่หนึ่ง ฟันกรามน้อยบนซี่ที่สอง ฟันกรามบนซี่ที่หนึ่งเเละฟันกรามบนซี่ที่สอง เอ็นยึดปริทันต์ และกระดูกเบ้าฟันโดยให้เเรงไปทางด้านไกลกลางขนาดต่าง ๆ จากหลักยึดหมุดฝังที่บริเวณใต้ต่อกระดูกโหนกเเก้ม เพื่อเคลื่อนกลุ่มฟันหลังบนไปทางด้านหลัง ประเมินการเคลื่อนที่ของฟัน เเต่ละซี่ ตามเเนวเเกน x y เเละ z รวมทั้งดูค่าความเค้นวอนมิสโดยใช้ระดับเเถบสีมาตรฐานพบว่าเมื่อให้เเรงที่ตะขอเกี่ยวระดับต่ำสุด (0 มิลลิเมตร) ฟันทุกซี่จะเคลื่อนที่โดยตัวฟันเคลื่อนไปทางด้านไกลกลาง ร่วมกับฟันซี่กรามน้อยซี่ที่สอง ฟันกรามซี่ที่หนึ่ง เเละฟันกรามซี่ที่สองถูกดันเข้าไปทาง รากฟัน เเต่พบว่าฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่ง ถูกดันออกไปทาง ระนาบสบฟันเล็กน้อย เเละ ฟันทุกซี่เคลื่อนหมุนออกทางด้านเเก้มเเต่เมื่อให้เเรงที่ตะขอเกี่ยวระดับสูงที่สุด (8 มิลลิเมตร) พบ ว่าตัวฟัน ของฟันกรามน้อยซี่ที่สอง ฟันกรามซี่ที่หนึ่ง เเละฟันกรามซี่ที่สอง เคลื่อนที่ไปทางด้าน ไกลกลางมากขึ้น เเต่ฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งจะเคลื่อนไปทางด้านไกลกลางลดน้อยลง ร่วมกับตัวฟันของ ฟันทุกซี่เคลื่อนเเบบดันออกไปทางระนาบสบฟัน เเละฟันกรามน้อยซี่ที่สอง ฟันกรามซี่ที่หนึ่ง เเละฟันกรามซี่ที่สอง เคลื่อนที่หมุนเข้าทางด้านลิ้นส่วนฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งเคลื่อนหมุนออกทางด้านเเก้มเล็กน้อย เเต่อย่างไรก็ตามพบว่าที่ ระดับตะขอเกี่ยวสูง 0 เเละ 2 มิลลิเมตร จะมีการเคลื่อนที่ของฟันทุกซี่โดยส่วนใหญ่เคลื่อนที่ไปทางด้านไกลกลาง เเละมีการเคลื่อนที่ไปทาง เเนวดิ่งน้อย ส่วนที่ระดับตะขอเกี่ยว 2 และ 4 มิลลิเมตร จะมีการเคลื่อนที่ของฟันทุกซี่โดยส่วนใหญ่เคลื่อนที่ไปทางด้านไกลกลางเเละมีการเคลื่อนที่ไปทางเเนวขวางน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับตำเเหน่ง ตะขอเกี่ยวระดับอื่น ๆ ผลจากการศึกษาพบว่าตะขอเกี่ยวระดับต่ำ 0 2 เเละ4 มิลลิเมตร ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปทางด้านไกลกลางมาก ร่วมกับฟันเคลื่อนที่เเนวดิ่งเเละเเนวขวางน้อยเมื่อ เทียบกับระดับตะขออื่น ๆ สำหรับตะขอเกี่ยวระดับสูง 6 เเละ 8 มิลลิเมตร พบการเคลื่อนที่ในเเนวดิ่งเเละเเนวขวางมากในฟันทุกซี่ ยกเว้นฟันกรามบนซี่ที่สอง ที่พบการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง เเละฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่ง ที่พบการเคลื่อนที่ในเเนวขวางในปริมาณน้อยมาก สรุปได้ว่าระดับความสูงเเนวดิ่งของตะขอเกี่ยวเป็นปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดรูปแบบของการเคลื่อนที่ไปทางด้านไกลกลางของกลุ่มฟันหลังบน เนื่องจากรูปแบบการเคลื่อนที่ของฟันขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างเเนวเเรงเเละตำเเหน่งของจุดศูนย์กลางความต้านทานของระบบเเรงen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการเคลื่อนที่ของกลุ่มฟันหลังบนไปด้านไกล กลางen_US
dc.subjectวิธีไฟไนต์เอลิเมนตen_US
dc.subjectจุดศูนย์กลางความต้านทานen_US
dc.titleความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่กลุ่มฟันหลังบนไปด้านหลังและทิศทางของเเนวเเรงจากหลักยึดหมุดฝัง ในกระดูกไปยังตะขอเกี่ยวหลายระดับ วิเคราะห์โดยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์en_US
dc.title.alternativeMaxillary Posterior Teeth Distalization with Miniscrew Anchorage Relative to Force Vectors Applied to Different Lengths of Retraction Hook, Analyzed Using the Finite Element Methoden_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.