Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68738
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สมพรพร วิเศษศิริกุล | en_US |
dc.contributor.author | เทิดศักดิ์ ญาโน | en_US |
dc.contributor.author | สุวิทย์ โชตินันท์ | en_US |
dc.contributor.author | สุวิชัย โรจนเสถียร | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-06-10T07:12:27Z | - |
dc.date.available | 2020-06-10T07:12:27Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.citation | เชียงใหม่สัตวแพทยสาร 12,2 (พ.ค.-ส.ค. 2557) 107-120 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-6920 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vis/article/view/146557/108051 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68738 | - |
dc.description | เชียงใหม่สัตวแพทยสาร เป็นวารสารเผยแพร่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพในลักษณะต่าง ๆ เช่น บทความต้นฉบับ (Original article) บทความปริทัศน์ (Review article) รายงานฉบับย่อ (Short communication) และรายงานสัตว์ป่วย (Case report) ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสัตวแพทยศาสตร์ (Veterinary Science) และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการสัตว์ (Animal Science and Technology) ได้แก่ ชีววิทยา สรีรวิทยา จุลชีววิทยา พยาธิวิทยา โภชนาการศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ พันธุศาสตร์ อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ สูติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางชีวภาพวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ระบาดวิทยาและแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว | en_US |
dc.description.abstract | อาสาสมัครป้องกันโรคไข้หวัดนกมีบทบาทสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกในแต่ละพื้นที่การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบและประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกและการมีส่วนร่วมปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของอาสาสมัครป้องกันโรคไข้หวัดนกภายหลังการระบาดระหว่างพื้นที่ระบาดครั้งเดียวกับพื้นที่ระบาดซ้ำหลายครั้งในเขตพื้นที่ภาคเหนือดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2553-มีนาคม 2554 ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพบการระบาดของโรคเฉพาะในการระบาดรอบแรกและจังหวัดพิษณุโลกซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดซ้ำหลายครั้งเก็บข้อมูลในด้านความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนกและการมีส่วนร่วมปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของอาสาสมัครป้องกันโรคไข้หวัดนกโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากอาสาสมัครป้องกันโรคไข้หวัดนกในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพิษณุโลกจํานวน 203 รายและ 215 รายตามลําดับรวม 418 รายผลการศึกษาพบวาผลรวมของระดับความรู้ของอาสาสมัครป้องกันโรคไข้หวัดนกของทั้งสองพื้นที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกแต่ละประเด็นพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 6 ประเด็น (ได้แก่ (1) เชื้อโรคไข้หวัดนกเป็นเชื้อที่ทนต่อความร้อนสูงถึง 100 องศาเซลเซียส (2) น้ำยาฆ่าเชื้อทั่วๆไปสามารถฆ่าเชื้อโรคไข้หวัดนกได้ (3) สัตว์ที่ติดเชื้อโรคไข้หวัดนกจะแพร่เชื้อออกมากับเสมหะน้ำลายหรืออุจจาระของสัตว์ที่ป่วย (4) โรคไข้หวัดนกสามารถแพร่โรคจากฟาร์มหนึ่งไปอีกฟาร์มหนึ่งได้โดยยานพาหนะอุปกรณ์ต่างๆเช่นถาดไข้ที่ปนเปื้อนเชื้อ (5) ฟาร์มระบบปิดคือฟาร์มที่มีการจํากัดคนยานพาหนะเข้าออกมีการฆ่าเชื้อรถและอุปกรณ์ที่เข้าออกฟาร์มมีการพักและใช้น้ำยาทําความสะอาดโรงเรือนและ (6) หากพบสัตว์ปีกป่วยตาย ท่านต้องแจ้งเจ้าหน้าที่หน่วยงานปศุสัตว์สาธารณสุขหน่วยงานปกครององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) จาก 22 ประเด็นคิดเป็นร้อยละ 27.27 และการมีส่วนร่วมปฏิบัติพบว่าอาสาสมัครป้องกันโรคไข้หวัดนกส่วนใหญ่ตอบ“ทุกครั้ง” ในทุกประเด็นคําถามถ้าพิจารณาการเปรียบเทียบรายข้อระหว่างสองพื้นที่พบว่ามีความแตกต่างกัน 5 คําถาม (ได้แก่ (1) ท่านเคยเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และสาธารณสุขจัดขึ้นเพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก (2) เมื่อพบว่าบุคคลในครอบครัวสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ป่วย ท่านได้มีส่วนช่วยดูแลและช่วยเหลือ (3) เมื่อสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายควรอาบน้ำชําระร่างกายเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนกลับที่พัก (4) เคยได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกเรื่องการดูแลตนเองเมื่อสัมผัสกับสัตว์ป่วยแก่เพื่อนบ้านและ (5) เคยได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกเรื่องการป้องกันโรคไข้หวัดนกในคนแก่เพื่อนบ้าน) จาก 16 คําถามคิดเป็นร้อยละ 31.25 The avian infl uenza volunteers play an important role in monitoring, prevention and control of avian infl uenza in each area. The objective of this study was to compare and evaluate the avian infl uenza knowledge and practice participation in monitoring, prevention and control of avian infl uenza volunteers after outbreak between a single outbreak and re-outbreak areas in Northern Thailand. The study was performed during October 2010-March 2011 in Chiang Mai area which had only one outbreak in the fi rst wave and Phitsanulok area which was defi ned as a re-outbreak area. Data regarding knowledge of avian infl uenza and participation was collected through a structured questionnaire and interviews. Four hundred and eighteen avian infl uenza volunteers in Chiang Mai and Phitsanulok participated in this study. The results revealed that avian infl uenza knowledge level of the avian infl uenza volunteers in both provinces had no statistical difference (p<0.05).But, in comparing each knowledge question, six of twenty two knowledge questions of the avian infl uenza volunteer (27.27%)(Such as (1) Avian infl uenza virus is heat resistant to 100 degrees Celsius. (2) General disinfectants can kill avian infl uenza virus. (3) Avian infl uenza virus infected poultry will spread the virus to other animals by phlegm, saliva or feces. (4) Avian infl uenza virus can spread from a farm to another farm by vehicles, materials, or equipment (such as egg trays) that was contaminated with avian infl uenza. (5) A closed system farm is a farm which limits people and vehicle access to the farm, disinfects vehicles and materials entering and leaving the farm, and use disinfectants for cleaning of the poultry houses and, (6) When fi nding sick or dead poultry, you must tell the staffs of Livestock, Public Health Offi ces or Local Administration Organization.) in both provinces had statistical differences (p<0.05). Furthermore, the practice participation of avian infl uenza volunteers revealed that fi ve of sixteen practice participation questions of the avian infl uenza volunteers (31.25%) (Such as (1) Have you ever coordinated activities of Livestock Staff and Public Health for avian infl uenza surveillance, prevention and control? (2) When you fi nd a household which had contact with sick poultry, you provide assistance to take care of them. (3) When in contact with sick or dead poultry, you should take a bath, change upper-body-clothes and trousers before going home. (4) Communicating avian infl uenza knowledge about protecting themselves when a neighbor come into contact with sick poultry and (5) Communicating avian infl uenza knowledge about avian infl uenza prevention in humans to neighbors.) in both provinces had statistical differences. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะสัตวแพทศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ความรู้ | en_US |
dc.subject | การมีส่วนร่วมโรคไข้หวัดนก | en_US |
dc.subject | อาสาสมัครป้องกันโรคไข้หวัดนก | en_US |
dc.subject | พื้นที่ระบาดครั้งเดียว | en_US |
dc.subject | พื้นที่ระบาดซ้ำหลายครั้ง | en_US |
dc.title | ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกและการมีส่วนร่วมปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของอาสาสมัครป้องกันโรคไข้หวัดนกภายหลังการระบาดระหว่างพื้นที่ระบาดครั้งเดียวกับพื้นที่ระบาดซ้ำหลายครั้งในภาคเหนือของประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Avian influenza knowledge and practice participation in avian iInfluenza monitoring, prevention and control of avian influenza volunteer after outbreak between single outbreak and re-outbreak areas in northern Thailand | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.