Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68804
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กุลรัศมิ์ ชำนินอก | en_US |
dc.contributor.author | พัชราภรณ์ อารีย์ | en_US |
dc.contributor.author | สุธิศา ล่ามช้าง | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-06-10T07:12:31Z | - |
dc.date.available | 2020-06-10T07:12:31Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 77-87 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240777/164101 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68804 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | การกลับเป็นโรคปอดอักเสบซ้ำในเด็กยังคงเป็นปัญหาที่พบอยู่และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น การปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมของมารดาจะช่วยป้องกันการเกิดโรคปอดอักเสบซ้ำได้ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติของมารดาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการป้องกันการกลับเป็นโรคปอดอักเสบซ้ำในเด็ก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นมารดาจำนวน 85 คน ที่มีบุตรอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ป่วยด้วยโรคปอดอักเสบ และได้รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลลำพูน และโรงพยาบาลลำปาง ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2558 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามการปฏิบัติของมารดาในการป้องกันโรคปอดอักเสบซ้ำในเด็ก และ แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของมารดาในการป้องกันโรคปอดอักเสบซ้ำในเด็ก ประกอบด้วย การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรค และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของมารดาในการป้องกันโรคปอดอักเสบซ้ำในเด็ก การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ .84, .80, .88, .94 และ .95 ตามลำดับ การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่า ครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่น .80, .80, .80, .81 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงอันดับแบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1.มารดาของเด็กที่ป่วยด้วยโรคปอดอักเสบ ร้อยละ 71.8 มีการปฏิบัติในการป้องกันโรคปอดอักเสบซ้ำในเด็กอยู่ในระดับสูง 2.การรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติของมารดาในการป้องกันโรคปอดอักเสบซ้ำในเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .233, p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติของมารดาและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของมารดาในการป้องกันการกลับเป็นโรคปอดอักเสบซ้ำในเด็ก ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างเสริมและป้องกันโรคเกี่ยวกับการป้องกันโรคปอดอักเสบซ้ำในเด็กของมารดาต่อไป Recurrent pneumonia is still a common problem and prevalence is higher among children. Maternal Practice is the most effective way to prevent recurrent pneumonia. The purpose of this correlational descriptive study was to examine maternal practices and related factors for recurrent pneumonia prevention in children. The subjects of this study included mothers of children with pneumonia under the age of five years and admitted to the pediatrics unit at Nakornping Hospital, Chiangrai Prachanukroh Hospital, Lamphun Hospital and Lampang Hospital. Data were collected from March to May 2015. The study instruments were comprised of a maternal practices for recurrent pneumonia prevention in children questionnaire and a related factors of maternal practices for recurrent pneumonia prevention in children questionnaire, which recorded the perceived severity, perceived benefits, perceived barrier and perceived self-efficacy. The content validity of all questionnaires were confirmed to be valid by a panel of experts, scoring the values.84, .80, .88, .94 and .95 respectively. The reliability of the questionnaires was also tested. The Cronbach’s alpha coefficients of the questionnaire were 0.80, 0.80, 0.80, 0.81 and 0.92. Data were analyzed using descriptive statistics, the Pearson product moment correlation coefficient and the Spearman rank correlation coefficient. The results of this study showed that: 1. Seventy-one point eight percent of the mothers had high levels of practice in recurrent pneumonia prevention. 2. There was a statistically significant positive correlation between perceived self-efficacy and maternal practices for recurrent pneumonia prevention in children (r = .233, p < .05). This study provides an understanding of maternal practices and perceived self-efficacy for mothers to help prevent recurrent pneumonia in children. This information can be used as a guide to improve their maternal practices for recurrent pneumonia prevention in children. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การปฏิบัติของมารดา | en_US |
dc.subject | โรคปอดอักเสบซ้ำ | en_US |
dc.subject | ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของมารดาสำหรับการป้องกัน การกลับเป็นซ้ำของโรคปอดอักเสบในเด็ก | en_US |
dc.title.alternative | Related Factors of Maternal Practices for Recurrent Pneumonia Prevention Among Children | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.