Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68875
Title: การเกิดรูทะลุของถุงมือในงานทันตกรรมทั่วไป
Other Titles: Glove Perforation in Routine Dental Treatment
Authors: สาวิตรี วะสีนนท์
ธนวัฒน์ วะสีนนท์
Authors: สาวิตรี วะสีนนท์
ธนวัฒน์ วะสีนนท์
Keywords: อุบัติเหตุงานทันตกรรมถุงมือทันตกรรมผู้ปฏิบัติงานทันตกรรม
Issue Date: 2557
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 35,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2557), 99-106
Abstract: การศึกษานี้เป็นการศึกษาหาอุบัติการณ์เกิดรูของถุงมือในงานทันตกรรมทั่วไปในคลินิกนักศึกษาทันตแพทย์คลินิกอาจารย์ทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคลินิกทันตกรรมเอกชน 3 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ถุงมือของทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ได้ถูกเก็บรวบรวมตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2556 เพื่อทดสอบการเกิดรูของถุงมือโดยวิธี water filling test ปริมาณ ตำแหน่งรูของถุงมือ ชนิดของงานทันตกรรม และสาเหตุการเกิดรูของถุงมือได้ถูกบันทึกและนำมาวิเคราะห์ ปริมาณถุงมือ 1,462 ข้างจากงานทันตกรรม 12 ชนิดงานถูกรวบรวมเพื่อนำมาศึกษาวิจัย อุบัติการณ์เกิดรูของถุงมือในงานทันตกรรมทั่วไป พบได้ร้อยละ 9 ของปริมาณถุงมือทั้งหมด โดยตำแหน่งที่พบรูรั่วบ่อยที่อุ้งมือ (ร้อยละ 27) นิ้วชี้ (ร้อยละ 26) และนิ้วหัวแม่มือ (ร้อยละ 22) ตามลำดับ ทั้งทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์มีโอกาสเกิดรูของถุงมือเท่ากัน ส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติงานทันตกรรมไม่ทราบว่าถุงมือเกิดรู (ร้อยละ 99.1) และอุบัติการณ์เกิดรูของถุงมือไม่สัมพันธ์กับระยะเวลาการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ อุบัติการณ์เกิดรูของถุงมือพบมากในคลินิกนักศึกษาทันตแพทย์เมื่อเปรียบเทียบกับคลินิกอาจารย์ (p = 0.047) และอุบัติการณ์เกิดรูของถุงมือในคลินิกทันตกรรมของมหาวิทยาลัยสูงกว่าคลินิกทันตกรรมเอกชนอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.002) สรุปว่าอุบัติการณ์เกิดรูของถุงมือพบเกิดได้มากทั้งทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ และผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าเกิดรูทะลุของถุงมือ การลดอุบัติการณ์คือการให้ความสำคัญในการป้องกันการเกิดรูของถุงมือโดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยและกับนักศึกษาทันตแพทย์โดยตรง The purpose of this study was to evaluate the prevalence of glove perforation in routine dental treatment. Of all 1,462 used gloves collected from Faculty of Dentistry, Chiang Mai University and 3 private dental practices, 9% were perforated. The most three common perforated sites were palm (27%), index (26%), and thumb (22%), respectively. No significant difference in glove perforation rate was found between dentists and assistants. Up to 99.1% of the perforated gloves were unrecognized by dental personnel. In addition, there was no correlation between time of wearing and number of perforation. The glove perforation rate was found to be significantly higher in undergraduate dental clinic when comparing to staffs’ dental clinic (p = 0.047). Moreover, the dental school also had higher glove perforation rate compared with private dental practices (p = 0.002). Recognizing the prevalence of glove perforation in routine dental treatments would help preventing cross-contamination among dental personnel and patients, especially in dental school.
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2557_35_1_348.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68875
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.