Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69543
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAsst. Prof. Dr. Usanee Anukool-
dc.contributor.advisorAssoc. Prof. Dr. Decha Tamdee-
dc.contributor.advisorAsst. Prof. Dr. Duangporn Pichpol-
dc.contributor.authorPeerapat Rongsanamen_US
dc.date.accessioned2020-08-14T03:02:07Z-
dc.date.available2020-08-14T03:02:07Z-
dc.date.issued2020-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69543-
dc.description.abstractThe emergence of livestock-associated methicillin-resistant Staphylococcus aureus (LA-MRSA) in swine farms worldwide including Thailand has posted public health concern. Healthy pigs in farms in Chiang Mai and Lamphun provinces colonized with SCCmec-IX MRSA strains were previously reported. However, knowledge of prevalence and acquisition factors of MRSA among swine production personnel (SPP) who might be at risk due to occupational exposure to pigs and farm environments are still limited. Therefore, this study aimed to address the MRSA carriage rate and acquisition risk factors among SPP in Chiang Mai and Lamphun provinces. Data of 202 voluntary SPP and 31 swine farms in Chiang Mai and Lamphun provinces were collected during February-August 2017. All SPP nasal samples were screened for MRSA, that are subject to biochemical and antimicrobial susceptibility testing, multiplex PCR, and staphylococcal cassette chromosome (SCC) mec typing. The prevalence of MRSA was calculated at 7.9% (16/202) among SPP and 19.3% (6/31) among swine farms. All 59 MRSA isolates were multidrug resistant which 83-93% of all isolates were resistant to clindamycin, tetracycline, and ciprofloxacin. Nearly all isolates (55/59, 93%) were classified as SCCmec IX-MRSA which is livestock related clone. Data analysis showed that level of education, working time in the farm, frequency of contact with pigs and working solely on swine production, were risk factors of MRSA acquisition (p < 0.05). In addition, good personal hygiene including shower after work (p = 0.005) and changing work cloths before leaving the farm (p = 0.019) significantly associated with MRSA carriage. The number of staff and pigs in farm, duration of disease outbreak, the implementation of suitable methods for vehicle disinfection and personal disinfection, and water quality control significantly associated with MRSA prevalence in farm (p < 0.05). Moreover, usage of tetracycline drugs significantly related to MRSA detection (p = 0.046). The multivariate regression analysis showed that the experience of working with pigs (adjusted OR 0.92, 95% CI 0.83 - 1.03, p = 0.141), working days per week (adjusted OR 4.2, 95% CI 0.98 - 18.05, p = 0.053), and shower after working (adjusted OR 0.14, 95% CI 0.04 - 0.49, p = 0.002) were good predictors for MRSA carriage among SPP (AUC = 0.84). This study revealed that relatively high prevalence of SCCmec IX-MRSA among SPP in Chiang Mai and Lamphun provinces was associated with occupationally exposure of MRSA, inappropriate personal and farm hygienic practices and antimicrobial usage. The study population could be potential source of MRSA infection and transmission in household and community, therefore, awareness and active monitoring of MRSA in swine production as well as good agricultural practice in swine farms were recommended to prevent the dissemination of MRSA.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titlePrevalence and Acquisition Risk Factors of Methicillin- Resistant Staphylococcus aureus in Swine-Production Personnel in Chiang Mai and Lamphun Provinces, Thailanden_US
dc.title.alternativeความชุกและปัจจัยเสี่ยงของเชื้อสแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อ ต่อยาเมทิซิลลินในบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตสุกร ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ประเทศไทยen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractอุบัติการณ์ของเชื้อ livestock-associated methicillin-resistant Staphylococcus aureus (LA-MRSA) ในฟาร์มสุกรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยได้สร้างความกังวลทางด้านสาธารณสุข รายงานวิจัยก่อนหน้าได้มีการรายงานพบเชื้อสายพันธุ์ SCCmec-IX MRSA ในสุกรสุขภาพดีในฟาร์มสุกร จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน อย่างไรก็ตามความรู้เกี่ยวกับความชุก และปัจจัยในการได้รับเชื้อ MRSA ในบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตสุกรที่มีความเสี่ยงอันเนื่องมากจากอาชีพการทำงานที่ต้องสัมผัสสุกรและสิ่งแวดล้อมในฟาร์มยังมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการระบุอัตราการเป็นพาหะของเชื้อ และปัจจัยเสี่ยงในการได้รับเชื้อ MRSA ในบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตสุกรในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน โดยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตสุกรจำนวน 202 ราย และฟาร์มสุกรจำนวน 31 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนที่สมัครใจเข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ ในระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม พ.ศ. 2560 ตัวอย่าง nasal samples จากบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตสุกรทั้งหมดได้รับการตรวจคัดกรองหาเชื้อ MRSA ก่อนนำไปทดสอบทางทดสอบทางชีวเคมีและทดสอบความไวของเชื้อต่อสารต้านจุลชีพ, multiplex PCR และทำการจำแนกชนิดของ Staphylococcal cassette chromosome (SCC) mec ความชุกของเชื้อ MRSA เท่ากับ 7.9% (16/202) ในบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตสุกร และพบที่ 19.3% (6/31) ของฟาร์มสุกร เชื้อ MRSA ทั้งหมดจำนวน 59 ไอโซเลท เป็นเชื้อดื้อยาหลายขนานโดย 83-93% ของเชื้อดื้อต่อยา clindamycin, tetracycline และ ciprofloxacin เชื้อ MRSA เกือบทั้งหมด (55/59, 93%) จำแนกเป็น SCCmec IX-MRSA ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับปศุสัตว์ การวิเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ใช้ในการทำงานในฟาร์ม ความถี่ในการสัมผัสสุกร และการทำงานด้านการผลิตสุกรเพียงอย่างเดียว เป็นปัจจัยเสี่ยงในการได้รับเชื้อ MRSA (p < 0.05) นอกจากนี้ สุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ได้แก่ การอาบน้ำทุกครั้งหลังทำงาน (p = 0.005) และการเปลี่ยนชุดทำงานทุกครั้งก่อนออกจากฟาร์ม (p = 0.019) สัมพันธ์กับการเป็นพาหะของเชื้อ MRSA ในบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตสุกรอย่างมีนัยสำคัญ จำนวนของพนักงานและสุกรทั้งหมดในฟาร์ม ระยะเวลาในการระบาดของเชื้อในฟาร์มสุกร การมีวิธีการที่เหมาะสมในการทำลายเชื้อในยานพาหนะและการทำลายเชื้อส่วนบุคคล และการตรวจสอบคุณภาพของน้ำเป็นประจำ ส่งผลต่อการตรวจพบเชื้อ MRSA ในฟาร์มอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) นอกจากนี้ พบว่าการใช้ยา tetracycline ในฟาร์มสุกรสัมพันธ์กับการตรวจพบเชื้อ MRSA อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.046) ผลจากการวิเคราะห์ multivariate regression analysis พบว่าประสบการณ์ทำงานกับสุกร (adjusted OR 0.92, 95% CI 0.83 - 1.03, p = 0.141) จำนวนวันทำงานต่อสัปดาห์ (adjusted OR 4.2, 95% CI 0.98 - 18.05, p = 0.053) และการอาบน้ำหลังทำงาน (adjusted OR 0.14, 95% CI 0.04 - 0.49, p = 0.002) เป็นตัวทำนายที่ดีสำหรับการเป็นพาหะของเชื้อ MRSA ในบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตสุกร (AUC = 0.84) การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นความชุกที่ค่อนข้างสูงของเชื้อ SCCmec IX-MRSA ในบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตสุกรในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนสัมพันธ์กับการสัมผัสเชื้อ MRSA จากการทำงาน การปฏิบัติด้านสุขลักษณะส่วนบุคคลและสุขลักษณะในฟาร์ม และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม กลุ่มคนเหล่านี้อาจเป็นแหล่งของเชื้อ MRSA ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อและการถ่ายทอดเชื้อในครัวเรือนหรือชุมชน ดังนั้นความตระหนัก และการตรวจติดตามและเฝ้าระวังเชื้อ MRSA ในกระบวนการผลิตสุกรอย่างแข็งขัน เช่นเดียวกับระบบการผลิตที่ถูกต้องในฟาร์มสุกรถือเป็นข้อแนะนำเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ MRSAen_US
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
591131003 พีรพัฒน์ รองสนาม.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.