Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69777
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชนิตว์ ลีนาราช-
dc.contributor.authorทานตะวัน มหาวรรณ์en_US
dc.date.accessioned2020-10-06T07:01:22Z-
dc.date.available2020-10-06T07:01:22Z-
dc.date.issued2020-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69777-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to investigate service provision contexts and library use needs and problems of the elderly service users in public libraries in the Upper Northern Region of Thailand and to develop library service guidelines for the elderly in the public libraries in the region. The mixed-method approach was implemented in this research, consisting of both qualitative and quantitative investigation. The library sample group was composed of six public libraries and “Chalermrajakumari” public libraries in the region. They included four provincial public libraries in Chiang Mai, Chiang Rai, Nan and Lampang provinces and two “Chalermrajakumari” public libraries in Chiang Rai and Phrae provinces. The qualitative data were collected from the library administrators and information professionals in charge of library services in the six libraries. The quantitative data were collected from the elderly service users in the six libraries. The Yamane’s table was used to define the sample size with the confidence level of 95%. The sample size was 398 respondents and 430 sets of the questionnaire were returned. The content analysis was utilized to analyze the qualitative data and the results were presented descriptively. Descriptive statistics was applied to analyze the quantitative data for frequency, percentage, and standard deviation. The inferential statistics, including F-test and One-Way ANOVA, was also adopted. The research instruments for collecting the qualitative data were two sets of the semi-structured interview: one for the library administrators and the other for the information professionals in charge of library services. The study results on the library service needs revealed that the needs were ranked as follows. For the needs in the environment and facilities for the elderly service users, the needs with the highest mean were air-conditioned libraries (x = 4.05), libraries with good ventilation (x = 3.94), and clean and orderly libraries (x = 3.91). For library services, the needs with the highest mean were sending information resources at hand or providing a mobile library (x = 3.69), information search service for the elderly (x = 3.60), and sending a list of new books or library activity programs to the homes of the elderly (x = 3.49). For library facilities, the needs with the highest mean were having cushions with backrests for the elderly (x = 3.98), providing reading space exclusively for the elderly (x = 3.71), and a drinking water corner (x = 3.69). It was further found that library service problems encountered by the elderly service users were the environment and facilities for the elderly, information resources, and personnel respectively; librarians have no human relations with users, in providing services not giving advice and assistance to users, and they did not take care or enthusiasm in providing services respectively. For the guidelines to provide information services to the elderly service users, there were three issues. Firstly, library service policies for the elderly should include providing equal library services to the elderly of all age groups, promoting reading activities and providing them knowledge by using proactive activities, providing tools and facilities to the elderly, and providing personnel to oversee the elderly closely. Secondly, service provision strategies for the elderly should include promoting reading activities, organizing integrated activities for the elderly by incorporating participation or integrated administration, and organizing proactive and passive activities. Finally, there should be plans to promote reading activities and other integrated activities for the elderly by participating in allied networks without budget requirements or integrating with activities of non-formal education. There should also be plans to organize library activities and provide knowledge to the elderly by using both proactive and passive activities and learning base. The supportive factors for successful library services for the elderly consisted of state policies, planning, budget, personnel or librarians, and other factors.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectห้องสมุดen_US
dc.subjectห้องสมุดประชาชนen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.titleแนวทางการจัดบริการห้องสมุดสำหรับผู้สูงอายุในห้องสมุดประชาชน ภาคเหนือของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeGuidelines for library services to elderly people in public libraries, Northern Thailanden_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashห้องสมุดประชาชน -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashห้องสมุดประชาชน -- วิจัย-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดบริการ ความต้องการและปัญหาการใช้บริการห้องสมุดสำหรับผู้สูงอายุในห้องสมุดประชาชนภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย และเพื่อพัฒนาแนวทางในการจัดบริการห้องสมุดสาหรับผู้สูงอายุในห้องสมุดประชาชนภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method research) ซึ่งประกอบด้วยการวิจัย 2 ประเภทคือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และ 2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ห้องสมุดที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดและห้องสมุดประชาชน“เฉลิมราชกุมารี” ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย จำนวน 6 แห่ง ดังนี้ 1) ห้องสมุดประชาชนจังหวัด จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน และลำปาง 2) ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ เชียงราย และแพร่ การวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหาร ห้องสมุดประชาชนและนักวิชาชีพสารสนเทศที่ปฏิบัติงานด้านบริการห้องสมุดประชาชนจังหวัด และห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ทั้ง 6 แห่ง การวิจัยเชิงปริมาณรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุที่มารับบริการห้องสมุดประชาชนประชาชนและห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ทั้ง 6 แห่ง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 พบว่าได้ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน และได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 430 ชุด การวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สรุปประเด็นเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ F test และ One-Way ANOVA เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จำนวน 2 ชุด ดังนี้ 2.1) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหาร และ 2.2) แบบสัมภาษณ์สำหรับนักวิชาชีพสารสนเทศที่ปฏิบัติงานด้านบริการห้องสมุด ผลการศึกษาความต้องการบริการห้องสมุดพบความต้องการเรียงตามลำดับดังนี้ 1) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ พบค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ห้องสมุดมีเครื่องปรับอากาศ (x = 4.05) รองลงมาคือ ห้องสมุดมีอากาศถ่ายเทสะดวก (x = 3.94) และห้องสมุดสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย (x = 3.91) 2) ด้านบริการของห้องสมุด) มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ บริการจัดส่งทรัพยากรสารสนเทศถึงมือหรือการจัดบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ (x = 3.69) รองลงมาคือ จุดบริการช่วยเหลือการสืบค้นข้อมูลสาหรับผู้สูงอายุ (x = 3.60) และบริการจัดส่งรายชื่อหนังสือใหม่และจัดส่งตารางโปรแกรมกิจกรรมห้องสมุดถึงบ้านผู้สูงอายุ (x = 3.49) และ3) ด้านบริการสิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องสมุด ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ห้องสมุดมีโซฟานั่งเบาะนุ่ม มีพนักพิงสำหรับผู้สูงอายุ (x = 3.98) รองลงมาคือ ห้องสมุดมีการจัดพื้นที่นั่งอ่านสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ (x = 3.71) และบริการมุมน้ำดื่ม (x = 3.69) นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้สูงอายุประสบปัญหาการใช้บริการห้องสมุดด้านการจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ และด้านบุคลากร คือ บุคลากรไม่มีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ ไม่ให้คำแนะนำและช่วยเหลือ และบุคลากรไม่เอาใส่ใจหรือกระตือรือร้นในการให้บริการ จากผลการพัฒนาแนวทางการจัดบริการสารสนเทศสาหรับผู้สูงอายุ 3 ประเด็น ดังนี้ 1) การจัดทำนโยบายการจัดบริการห้องสมุดสำหรับผู้สูงอายุ คือ ควรจัดบริการของห้องสมุดสาหรับผู้สูงอายุทุกกลุ่มช่วงวัยอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมการอ่านและการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุโดยใช้กิจกรรมต่างๆ แบบเชิงรุก จัดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุและการจัดบุคลากรดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด 2) กลยุทธ์ในการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุ คือ ส่งเสริมการอ่านและการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุแบบบูรณาการ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมหรือการบริหารแบบบูรณาการเข้าด้วยกัน และการจัดกิจกรรมแบบเชิงรับและเชิงรุก และ3) การวางแผนส่งเสริมการอ่านและการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุแบบบูรณาการคือ เข้าร่วมกับภาคีเครือข่ายโดยไม่ใช้งบประมาณ การบูรณาการเข้ากับกิจกรรมอื่นๆของกศน. แผนการจัดกิจกรรมห้องสมุดและการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุโดยใช้กิจกรรมและฐานการเรียนรู้ทั้งแบบเชิงรับและเชิงรุก และปัจจัยสนับสนุนการจัดบริการห้องสมุดสำหรับผู้สูงอายุให้ประสบผลสำเร็จเรียงตามลำดับดังนี้ 1) นโยบายจากภาครัฐ 2) การวางแผน 3) งบประมาณ 4) ด้านบุคลากรหรือบรรณารักษ์ และ5) ปัจจัยอื่นๆen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
580132018 ทานตะวัน มหาวรรณ์.pdf10.58 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.