Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73714
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชรินทร์ มั่งคั่ง-
dc.contributor.advisorจารุณี ทิพยมณฑล-
dc.contributor.authorกิตติกร หมอมนต์en_US
dc.date.accessioned2022-07-24T06:06:55Z-
dc.date.available2022-07-24T06:06:55Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73714-
dc.description.abstractThe objectives of this research were 1) to study the living conditions of the aging in Fang District, Chiang Mai Province, 2) to study the quality of life of the aging in Fang District, Chiang Mai Province, and 3) to propose guidelines for improving the quality of life of the aging community-based in the area of Fang District, Chiang Mai Province. There were two groups of samples used in this research. 1) Leaders of Wiang Sub-District Administrative Organization, staff, and community leaders, totaling 10 people. 2) 60 elders in Wiang Sub-District Aging School, Wiang Subdistrict Administrative Organization, Fang District, Chiang Mai Province were obtained by voluntary random sampling. The research tools are: 1) Living conditions questionnaire for the aging who participated in the Senior School Project in Wiang Subdistrict, Wiang Subdistrict Administrative Organization, Fang District, Chiang Mai Province. 2) World Health Organization Quality of Life Brief – Thai (WHOQOL-BREF-THAI). 3) An interview form for the development of the quality of life of the aging in Fang District in the future. The statistics used in the research were concordance, mean, percentage, and standard deviation. The research results could be summarized as follows. 1. The results of data analysis of living conditions of the aging in the area of Fang District, Chiang Mai Province. Information on living conditions of the aging in the area of Fang District, Chiang Mai Province, most respondents found that 71.66% were female, 61.66% had an average age of 60-69 years, 58.33% had primary education, 60.00% had indigenous ethnic groups, 63.33% are married, 46.66% are engaged in agriculture, 66.66% have an aging income source from work, 75.00% have insufficient income for living, and 46.66% are living with spouse and children, respectively. 2. The analysis results of the average quality of life data of the aging in Fang District, Chiang Mai Province. The quality of life data of the aging in Fang District, Chiang Mai Province showed that their physical health was at a moderate level. The most common were 1) Able to get around on their own. (x̅= 3.58, SD = 0.96) 2) How satisfied are you with being able to do activities of daily living? (x̅= 3.27, SD = 0.90) 3) Satisfaction with being able to do everyday things. (x̅= 3.25, SD = 0.91) 4) How satisfied are you with your rest? (x̅= 3.17, SD = 0.78) 5) Have enough energy to do what you need to work each day. (x̅= 2.98, SD = 0.72) 6) It is necessary to go to the hospital on their own in order to live and work normally. (x̅= 2.77, SD = 1.06). 7) Physical ailments such as headaches, stomachaches, and body aches prevent you from living a normal life. (x̅= 2.72, SD = 0.87). The sum on physical health was 21.74 points. The mental aspect was at a moderate level. The most common were 1) How satisfied are you with yourself? (x̅= 3.85, SD = 0.84) 2) How meaningful is your life? (x̅= 3.75, SD = 0.97) 3) Satisfaction in life such as happiness with life. (x̅= 3.55, SD = 0.77) 4) How much concentration do you have? (x̅= 2.40, SD = 0.81) 5) How often were you feeling lonely, sad, depressed, hopeless, and anxious? (x̅= 2.33, SD = 0.97) 6) How much do you accept your appearance? (x̅= 2.15, SD = 0.97) The sum on psychology was 18.03 points. Social relations aspect of the aging was at a moderate level. The most common were 1) How satisfied are you with making friends or getting along with others like in the past? (x̅= 3.70, SD = 0.94) 2) Satisfied with the help received from the people around them. (x̅= 3.37, SD = 1.06) 3) Satisfied with your life and gender role. (x̅= 3.32, SD = 1.13) The sum on social relations was 10.39 points. The sum on social relations of the aging was at a moderate level. The most common were 1) Satisfied with the living context. (x̅= 3.98, SD = 0.89) 2) Feel that life is stable. (x̅= 3.87, SD = 0.75) 3) Healthy living environment (x̅= 3.83, SD = 0.81) 4) How satisfied are you with your health? (x̅= 3.63, SD = 0.90) 5) Have a chance to relieve stress each day. (x̅= 3.43, SD = 0.91) 6) What level of quality of life and well-being do you think you have? (x̅= 3.40, SD = 0.81) 7) Able to receive information in daily life. (x̅= 3.25, SD = 0.91) 8) How satisfied are you with your transportation journey? (x̅ = 3.25, SD = 0.99) 9) Able to go to medical services by themselves. (x̅= 3.23, SD = 1.13) 10) Have enough money for living. (x̅= 2.87, SD = 0.75) The sum on the environment was 34.74 points. The sum of the four aspects of quality of life of the aging in the area of Fang District, Chiang Mai Province found that the overall quality of life was at 84.90 points, which was in the middle quality of life criteria. 3. The information on the community-based approach to improving the quality of life of the agingin Fang District, Chiang Mai Province found that: 1) For improving the quality of life of the aging physically. The results found that 1.1) The aging must be aware of taking care of their physical health regularly, undergoing 10 health screenings for the aging according to the Ministry of Public Health's screening form according to the recommendations every year, and eating all 5 food groups. 1.2) Consumption of healthy food and nutritional benefits. They should refrain from fast food or foods that are sweet, salty, etc. 1.3) Training to promote exercise and establishing a fitness facility within the community according to their own age from the support of government agencies and public health training. 1.4) Refrain from drinking alcohol, beverages, intoxicants that affect the body negatively. 1.5) Playing sports. 1.6) Take regular rest, make your mind bright and cheerful, look at the world with optimism. 2) Guidelines for improving the quality of life of the aging mentally. The results found that 2.1) Prepare to accept changes in the body, practice mindfulness, and do charity to bring peace of mind, wisdom, peace of mind, and peace. 2.2) They should be in the environment to stimulate the mind and emotions, create a relaxed atmosphere, and practice positive thinking. 2.3) Going to the temple to practice dharma and bring the Dharma principles to develop the mind for use in mental management in living with society to see the truth according to the Buddhist teachings. 2.4) Meetings among the aging and uplifting their spiritual values such as going to temples, making merit, listening to dharma, receiving sermons, insights, and guidelines from the monk who is the abbot. 2.5) Doing recreational activities for the aging to relieve stress, have fun, be cheerful, and have fun, such as listening to dharma that can reach the aging by inviting preachers according to the aging's favorite group, meeting with spiritual teachers, and consistently training to sharpen the mind. 2.6) The practice of not causing attachment to letting go, having compassion, having compassion, and going to measure the Dharma principles to suppress the mind in order to achieve peace, relieve suffering, and not suffer from depression resulting in good health. 3) Guidelines for improving the quality of life of the aging in relation to social relations. The results found that 3.1) In respect, leaders within the aging group should be able to provide activities between the aging groups within the community to work together to enhance their roles, understand their potential, emotions, feelings, self-worth and to reduce anxiety in the aging group to feel relaxed, stress-free, and happy. 3.2) Joint activities for the aging should be organized, such as music, discussion groups, and study tours. 3.3) Activities of various cultural traditions suitable for the aging by group. Recruiting personnel from government agencies to work outside the premises to reach the aging in the community. Acknowledgment of the problem. Counseling, advice, and additional knowledge include guidelines for proper living in the aging. Career development such as making artificial flowers, waste material from coffee sachets or forging a machete can lead to creativity and career promotion. 3.4) The activities of the aging make it a source of teaching for children. This makes the aging happy, less anxious, and feel good about their lives. Activities resulted in the aging getting to know the way of living, being happy, benefiting the public, and not creating trouble for the society, such as being a leader or participating in community development planning activities in temples in their own residential areas, supervising and counseling among the aging among themselves, approaching same-generation groups, visiting fellow aging people of the same age who are sick, and providing assistance when the opportunity arises. 3.5) Away from the bad things in life and mind. 4) Environmental guidelines for improving the quality of life of the aging. The results found that 4.1) There must be an environment that is conducive to the health of the aging. For example: 1) The bedroom is on the ground floor of the house and well ventilated. 2) The bathroom should be next to the bedroom, the floor is not slippery, have handrails, and have a flat toilet. 3) Public places are provided with environments for the aging such as wheelchair ramps, public toilets for the aging, safe facilities in buildings, premises, vehicles, and other public services. 4.2) Recommend to encourage the aging to know how to organize a good environment, such as ฐ choosing planting trees that are conducive to the aging's health, create a peaceful environment, as well as a pleasant atmosphere, free from pollution, and be a good example for the other aging family. 4.3) Taking care of the natural environment in the local community together according to the sufficiency economy era and the development according to the science of the King's by assigning duties to parents, leaders in the community in the aging, assisting in surveillance, consulting on the care of environmental toxicity, maintaining the natural water sources in the local community to be clean, safe, including providing a resting place for the aging in the community. 4.4) To be taken care of by relatives, there should be activities to develop housing, help each other, and take care of the surrounding environment in terms of housing, for example, promoting the collection of recycled waste or products generated from recycled waste at causing more or less impact on the preservation of the environment in the community. 4.5) They should participate in activities in the village community at government organizations, agencies, and the development of a landscape adjustment residential environment enabling the aging to have a good quality of life, cheerful, and happy in the society.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeQuality of life the aging in Fang district area Chiang Mai provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- ฝาง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต-
thailis.controlvocab.thashคุณภาพชีวิต-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุในพื้นที่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแบบชุมชนเป็นฐานในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มี 2 กลุ่มคือ 1) ผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง เจ้าหน้าที่ผู้ปกครองระดับผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน 2) ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเวียง องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 60 คน โดยได้มาจากวิธีการสุ่มแบบเจาะจงโดยการสมัครใจตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คือ 1) แบบสอบถามสภาพความเป็นอยู่ สำหรับผู้สูงอายุที่เข้าร่วม โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเวียง องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2) แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI) 3) แบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอฝาง ในอนาคต สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความสอดคล้อง ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ข้อมูลสภาพความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.66 มีอายุเฉลี่ย อายุ 60-69 ปี ร้อยละ 61.66 ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 58.33 ชาติพันธุ์พื้นเมือง ร้อยละ 60.00 สถานภาพ สมรส ร้อยละ 63.33 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 46.66 แหล่งรายได้ผู้สูงอายุมาจากการทำงาน ร้อยละ 66.66 ความเพียงพอของรายได้ต่อการดำรงชีพ ไม่เพียงพอ ร้อยละ 75.00 และ ลักษณะการอยู่อาศัยในครอบครัว อยู่กับคู่สมรสและบุตร ร้อยละ 46.66 ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของข้อมูลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุใบพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ด้านสุขภาพร่างกายอยู่ในระดับปานกลาง พบมากที่สุดคือ 1) สามารถไปไหนมาไหนด้วยตนเองได้ (x̄ = 3.58, SD = 0.96) 2) รู้สึกพอใจมากน้อยแค่ไหนที่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน (x̄ = 3.27, SD = 0.90) 3) พอใจกับความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน (x̄ = 3.25, SD = 0.91) 4) พอใจในการพักผ่อนของท่านมากน้อยเพียงใด (x̄ = 3.17, SD = 0.78) 5) มีกำลังเพียงพอในสิ่งที่ต้องการทำงานในแต่ละวัน (x̄ = 2.98, SD = 0.72) 6) จำเป็นต้องไปรักษาพยาบาลด้วยตัวเอง เพื่อใช้ชีวิตและทำงานตามปกติ (x̄ = 2.77, SD = 1.06) 7) การเจ็บป่วยตามร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้ท่าน ไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ (x̄ = 2.72, SD) = 0.87) เล็กน้อย และมีผลรวมด้านสุขภาพร่างกายมี 21.74 คะแนน ด้านจิตใจอยู่ในระดับปานกลาง พบมากที่สุดคือ 1) รู้สึกพอใจในตนเองมากน้อยเพียงใด (x̄ = 385, SD = 0.84) 2) รู้สึกว่าชีวิตท่านมีความหมายมากน้อยเพียงใด (x̄ = 3.75, SD = 0.97) 3) มีความพึงพอใจในการดำเนินชีวิต เช่น มีความสุขกับการใช้ชีวิต (x̄ = 3.55, SD = 0.77) 4) มีสมาธิ ในการทำสิ่งต่างๆ มากน้อยเพียงใด (x̄ = 2.40, SD = 0.81) 5) มีความรู้สึกเหงา เศร้า หดหู่ สิ้นหวังวิตกกังวลบ่อยแค่ไหน (x̄ = 2.33, SD = 0.97) 6 ยอมรับรูปร่างหน้ตาของตัวเองได้มากน้อยเพียงใด (x̄ = 2.15, SD = 0.97) เล็กน้อย และมีผลรวมด้านจิตใจมี 18.03 คะแนน ด้านสัมพันธภาพทางสังคมของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง พบมากที่สุดคือ 1) พอใจต่อการผูกมิตรหรือเข้ากับคนอื่น อย่างอดีตที่ผ่านมามากน้อยแค่ไหน (x̄ = 3.70, SD = 0.94) 2) พอใจกับการช่วยเหลือที่เคยได้รับจากผู้คนรอบข้าง (x̄ = 3.37, SD = 1.06 3) พอใจในชีวิตและบทบาทสถานภาพทางเพศของท่าน (x̄ = 3.32. SD = 1.13) และมีผลรวมด้านสัมพันธภาพทางสังคมมี 10.39 คะแนน ด้านสิ่งแวดล้อมของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง พบมากที่สุดคือ 1) พอใจกับสภาพบริบทที่อยู่อาศัย (x̄ = 3.98, SD = 0.89) 2) รู้สึกว่าชีวิตมีความมั่นคง ปลอดภัย (x̄ = 3.87, SD = 0.75) 3) สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยดีต่อสุขภาพ (x̄ = 3.83, SD = 0.81) 4) พอใจในสุขภาพของตนเองมากน้อยเพียงใด (x̄ = 3.63, SD = 0.90) 5) มีโอกาสผ่อนคลายความเครียดในแต่ละวัน (x̄ = 3.43, SD = 0.91) 6 คิดว่าท่านมีคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ อยู่ในระดับใด (x̄ = 3.40, SD = 0.81) 7) สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวันได้ (x̄ = 3.23, SD = 0.91) 8) พอใจกับการเดินทางคมนาคมขนส่งมากน้อยเพียงไร (x̄ = 3.25, SD = 0.99) 9) สามารถไปใช้บริการรักษาพยาบาลด้วยตนเอง (X = 3.23, SD = 1.13) 10) มีเงินเพียงพอต่อการดำรงชีวิต (x̄ = 2.87, SD = 0.71) เล็กน้อย และมีผลรวมด้านสิ่งแวดล้อมมี 34.74 คะแนน และผลรวมของระดับคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้าน ของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวม อยู่ที่ 84.90 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ ระดับคุณภาพชีวิต ปานกลาง 3. ข้อมูลแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแบบชุมชนเป็นฐานในพื้นที่อำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า 1) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านร่างกาย ผลสรุปพบว่า 1.1) ผู้สูงอายุต้องตระหนักในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เข้ารับตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 10 ด้านตามแบบคัดกรองของกระทรวงสาธารณสุขตามคำแนะนำ ประจำทุกๆ ปี รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 1.2) การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ สิ่งของที่มีประโยชน์ด้านโภชนาการ ควรงดอาหารประเภท ฟาสต์ฟู้ด หรือมีรส หวาน เค็ม เป็นต้น 1.3) การอบรมส่งเสริมด้ามการออกกำลังกายจัดทำสถานที่ออกกำลังกาย ภายในชุมชน ตามความเหมาะกับวัยของตนเอง จากการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ และการอบรบด้านสาธารณสุข 1.4) งดเว้นจากการดื่มสุรา เครื่องดื่มของมึนเมาต่างที่ส่งผลต่อร่างกายทางด้านลบ 1.5) การเล่นกีพา 1.6) พักผ่อนให้สม่ำเสมอทำจิตใจให้แจ่มใสร่าเริงมองโลกในแง่ดี 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านจิตใจ ผลสรุปพบว่า 2.1) การเตรียมพร้อมเพื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย การฝึกสติ สร้างกุศลเพื่อทำให้เกิดความสบายใจ เกิดปัญญา จิตใจร่มเย็นและสงบ 2.2) ควรอยู่หรือจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อกระตุ้นจิตใจและอารมณ์ จัดบรรยากาศให้ผ่อนคลาย ฝึกความคิดในแง่บวก 2.3) การเข้าวัดปฏิบัติธรรมและนำหลักธรรมมาพัฒนาจิตใจ เพื่อใช้ในการบริหารจิตในการอยู่ร่วมกับสังคม รู้เห็นตามสภาพความจริงตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา 2.4) การพบปะระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุ ยกระดับคุณค่าทางจิตใจ เช่น กิจกรรมพากันเข้าวัด ทำบุญ ฟังธรรมะ รับโอวาท ข้อคิด แนวทางการปฏิบัติ จากพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นเจ้าอาวาส 2.5) การทำกิจกรรมนันทนาการ ให้ผู้สูงอายุคลายเครียด สนุกสนานร่าเริง มีความสุข เช่นการรับฟังธรรมะที่สามารถเข้าถึงผู้สูงอายุ โดยนิมนต์พระนักเทศน์ตามกลุ่มที่ผู้สูงอายุชื่นชอบ และพบปะพระวิทยากรอบรมด้านจิตใจ อีกทั้งการหมั่นอบรมขัดเกลาจิตใจอย่างสม่ำเสมอ 2.6) การปฏิบัติตนเพื่อไม่ให้เกิดความยึดติด การปล่อยวาง มีความกรุณาปรามีมีเมตตา เข้าวัดเอาหลักธรรมะข่มจิตใจเพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็น เพื่อคลายความทุกข์ และไม่เป็นโรคซึมเศร้า จะส่งผลให้มีสุขภาพที่ดี 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านสัมพันธภาพทางสังคม ผลสรุปพบว่า 3.1) การให้ความเคารพซึ่งกันและกัน ควรมีผู้นำภายในกลุ่มผู้สูงอายุจัดหากิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุภายในชุมชนได้ทำร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างบทบาท เข้าใจในศักยภาพ อารมณ์ความรู้สึกคุณค่าในตนเอง เพื่อลดความวิตกกังวลในกลุ่มผู้สูงอายุ ให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด มีความสุข 3.2) ควรจัดให้มีกิจกรรมร่วมกันสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม เช่น ดนตรี การพบปะสนทนากลุ่มพูดคุยเรื่องต่างๆ การท่องเที่ยวศึกษาดูงาน 3.3) การทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ โดยแยกตามกลุ่ม การจัดหาเจ้าหน้าที่บุคลากรจากองค์กรหน่วยงานภาครัฐออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุภายในชุมชน รับทราบปัญหา ให้คำปรึกษาและคำแนะนำ ความรู้เพิ่มเติม ได้แก่ แนวทางการปฏิบัติในการดำรงชีวิตอย่างถูกต้องในวัยผู้สูงอายุพัฒนาอาชีพด้าน เช่นการทำดอกไม้ประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้จากซองกาแฟ ทำให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์ การตีมีดพร้า และเกิดการส่งเสริมด้านอาชีพขึ้น 3.4) การจัดกิจกรรมของผู้สูงอายุ ทำให้เป็นต้นกำเนิดในการเป็นคำสอนต่างๆ ให้กับบุตรหลาน ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข ไม่เกิดความวิตกกังวล มีรู้สึกด้านที่ดีในการดำรงชีวิตของตนเอง ส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รู้แนวทางการปฏิบัติตนในการดำรงชีวิต มีความสุขได้ประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่สร้างความเดือนร้อนให้กับสังคม เช่น เป็นผู้นำหรือเข้าร่วมกิจกรรมวางแผนพัฒนา ชุมชน วัดในอาณาเขตพื้นที่พักอาศัยของตนเอง คอยสอดส่องดูแล ให้คำปรึกษาระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกันเอง การเข้าหากลุ่มรุ่นเดียวกันเยี่ยมเยียนเพื่อนผู้สูงอายุรุ่นเดียวกันที่ป่วยให้ความช่วยเหลือเมื่อมีโอกาส 3.5) การห่างไกลจากสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ ทั้งชีวิตและจิตใจ 4) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านสิ่งแวดล้อม ผลสรุปพบว่า 4.1) ต้องมีการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น 1) ห้องนอนอยู่ในชั้นล่างของบ้าน ระบายอากาศได้ดี 2) ห้องน้ำควรอยู่ติดห้องนอน พื้นไม่ลื่น มีราวจับ มีโถส้วมแบบนั่งราบ 3) สถานที่สาธารณะมีการจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ทางลาดสำหรับรถขึ้น ส้วมสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ มีความสะดวกปลอดภัย ในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หลังบริการสาธารณะอื่นๆ 4.2) แนะนำส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรู้จักการจัดสภาพแวดล้อมที่ดี เช่นเลือกการปลูกตับที่เอื้อต่อสุขภาพผู้สูงอายุ สร้างความร่มเย็น ตลอดถึงบรรยากาศที่น่าอยู่อาศัย ปราศจากมลพิษ เป็นตัวอย่างที่ดีกับกลุ่มผู้สูงอายุครอบครัวอื่นได้ 4.3) การร่วมกันดูแลสภาวะสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในชุมชนท้องถิ่นตามยุคเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาตามศาสตร์พระราชา โดยมอบหมายหน้าที่ให้แก่ผู้ปกครองระดับผู้นำในชุมชนในด้านผู้สูงอายุ ช่วยสอดส่องดูแล ให้คำปรึกษาในเรื่อง การดูแลสภาวะสิ่งเวดล้อมเป็นพิษ ดูแลรักษาแหล่งน้ำตามธรรมชาติในชุมชนท้องถิ่นให้สะอาด ปลอดภัย รวมถึงจัดหาสถานที่พักผ่อนสำหรับผู้สูงอายุภายในชุมชน 4.4) การได้รับความเอาใจใส่ดูแลจากญาติมิตร ควรมีกิจกรรมพัฒนาที่อยู่อาศัยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัว ด้านที่อยู่อาศัยเป็นต้น เช่น การส่งเสริมด้านการจัดเก็บขยะรีไซเคิล หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากขยะรีไซเคิล ก่อให้เกิดการส่งผลกระทบกับการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้ ไม่มากก็น้อย 4.5) ควรเข้าร่วมทำกิจกรรมในชุมชนหมู่บ้าน ที่องค์กรภาครัฐ หน่วยงานจัดขึ้น และการพัฒนาปรับภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อมบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ร่าเริงแจ่มใส ให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600232011 กิตติกร หมอมนต์.pdf6.94 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.