Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74186
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีรนุช ทองงาม-
dc.contributor.authorฐานิดา กอเจริญรัตนกุลen_US
dc.date.accessioned2022-10-06T00:50:55Z-
dc.date.available2022-10-06T00:50:55Z-
dc.date.issued2022-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74186-
dc.description.abstractPurpose: To investigate the effect of different saliva decontamination methods on microshear bond 4strength (µSBS) between Developed zirconium dioxide ceramic (DZ) and resin cement, in conjunction with thermocycling. Methods: Seventy-two cylindrical plates of Cercon® xt zirconia and DZ were embedded in metal rings and sandblasted with aluminum oxide particles. The specimens were randomly divided into 6 groups according to saliva decontamination methods: group 1 (NC): no contamination (positive control), group 2 (IC): Ivoclean, group 3 (EN): 70% ethanol, group 4 (SH): 1% sodium hypochlorite, group 5 (SB): sandblasted with aluminum oxide particles and group 6 (W): no decontamination (negative control). Two samples from each group were randomly selected, first one for surface morphology examination by a scanning electron microscope (SEM) and second one for surface elements analysis by an X-ray photoelectron spectroscopy (XPS). Specimens were applied with CLEARFILTM CERAMIC PRIMER PLUS and cemented on surface with PANAVIATM V5 by injecting into polyethylene tubes (4 resin cement rods per sample). After being stored in distilled water at 37°C for 24 hours, the specimens in each group were divided into 2 subgroups (n=20); subgroup 1 was defined as a short-term test and subgroup 2 was thermocycled (5 and 55°C, 5,000 cycles), to stimulate a long-term test. The specimens were subjected to a microshear bond strength (µSBS) test at a cross-head speed of 1 mm/min. Data were analyzed using Three-way ANOVA, followed by the Dunnett’s T3 multiple comparison test (p<0.05). Modes of failure were categorized by using the SEM. Results: XPS analysis showed similar element distributions between group NC, IC, SH and SB. There were no statistically significant differences (p>0.05) in µSBS between Cercon® xt and NDZ in all saliva decontamination methods. Bond strength of NC, IC, SH and SB group were significantly higher than EN and W group before thermocycling. After thermocycling, µSBS of all groups significantly decreased. The most decreased µSBS were showed in EN group and W group compare to other groups. Before thermocycling, failure mode analysis showed predominantly mixed failure in every group. Adhesive failure was observed in EN and W group and cohesive failure was observed in others. After thermocycling; NC, IC, SH and SB group showed only mixed failure while EN and W group showed only adhesive failure. Conclusion: There was no significant differences in µSBS between Cercon® xt zirconia and NDZ. The use of Ivoclean, Sodium hypochlorite and sandblast as saliva decontamination method for zirconia are effective in regaining µSBS between zirconia and resin cement. Thermocycling significantly reduced µSBS in all groups.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของวิธีการกำจัดการปนเปื้อนของน้ำลายต่อความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคของเรซินซีเมนต์กับเซอร์โคเนียมไดออกไซด์เซรามิกชนิดพัฒนาขึ้นใหม่en_US
dc.title.alternativeEffect of saliva decontamination methods on microshear bond strength of resin cement to a developed zirconium dioxide ceramicen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเรซินคอมโพสิต-
thailis.controlvocab.thashซีเมนต์ทางทันตกรรม-
thailis.controlvocab.thashสารยึดติดทางทันตกรรม-
thailis.controlvocab.thashน้ำลาย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของวิธีการกำจัดการปนเปื้อนของน้ำลายต่อความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคของเซอร์โคเนียมไดออกไซด์เซรามิกชนิดพัฒนาขึ้นใหม่กับเรซินซีเมนต์ ร่วมกับการทำเทอร์โมไซคลิง วิธีการวิจัย สร้างชิ้นทดสอบทรงกระบอกจากเซอร์โคเนีย 2 ชนิด ได้แก่ เซอร์โคเนียชนิดเซอร์คอนเอ็กซ์ทีและเซอร์โคเนียชนิดพัฒนาขึ้นใหม่ชนิดละ 72 ชิ้น ฝังในท่อโลหะและปรับสภาพพื้นผิวด้วยการเป่าทราย เซอร์โคเนียแต่ละชนิดแบ่งเป็น 6 กลุ่มตามวิธีการกำจัดการปนเปื้อนของน้ำลาย กลุ่มที่ 1 ไม่ปนเปื้อนน้ำลาย (กลุ่มควบคุมเชิงบวก) กลุ่มที่ 2 กำจัดการปนเปื้อนน้ำลายด้วยไอโวคลีน กลุ่มที่ 3 กำจัดการปนเปื้อนของน้ำลายด้วยสารละลายเอธานอลความเข้มข้นร้อยละ 70 กลุ่มที่ 4 กำจัดการปนเปื้อนของน้ำลายด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ความเข้มข้นร้อยละ 1 กลุ่มที่ 5 กำจัดการปนเปื้อนของน้ำลายด้วยการเป่าทราย กลุ่มที่ 6 ไม่กำจัดการปนเปื้อนของน้ำลาย (กลุ่มควบคุมเชิงลบ) สุ่มชิ้นทดสอบกลุ่มละ 2 ชิ้น ชิ้นที่ 1 นำมาส่องดูลักษณะพื้นผิวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด และชิ้นที่ 2 นำมาวิเคราะห์ธาตุบนพื้นผิวเซอร์โคเนียด้วยเทคนิคสเปกโตรสโกปีโฟโตอิเล็กตรอนด้วยรังสีเอ็กซ์ ทาไพรเมอร์ชนิดเคลียร์ฟิลเซรามิกไพรเมอร์พลัสบนพื้นผิวชิ้นทดสอบที่เหลือในแต่ละกลุ่มและฉีดเรซินซีเมนต์ชนิดพานาเวียวีไฟว์ลงในท่อโพลีเอธิลีนที่วางบนผิวชิ้นทดสอบ ได้แท่งเรซินซีเมนต์ 4 แท่งต่อชิ้นทดสอบ นำไปแช่ในน้ำกลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แบ่งชิ้นทดสอบแต่ละกลุ่มเป็น 2 กลุ่มย่อย กลุ่มละ 5 ชิ้นทดสอบ (n=20) กลุ่มย่อยที่ 1 นำไปทดสอบความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคทันที กลุ่มย่อยที่ 2 ทำเทอร์โมไซคลิงที่อุณหภูมิ 5 และ 55 องศาเซลเซียสจำนวน 5,000 รอบ จากนั้นนำไปทดสอบความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคด้วยอัตราเร็วหัวกด 1 มิลลิเมตร/นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความแปรปรวนแบบสามทางและเปรียบเทียบเชิงซ้อนด้วยสถิติดันเนทท์ทีสามที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และจำแนกรูปแบบความล้มเหลวของชิ้นงานด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์ธาตุบนพื้นผิวด้วยเทคนิคสเปกโตรสโกปีโฟโตอิเล็กตรอนด้วยรังสีเอ็กซ์พบว่าในกลุ่มไม่ปนเปื้อนน้ำลาย กลุ่มที่กำจัดการปนเปื้อนของน้ำลายด้วยไอโวคลีน โซเดียมไฮโปคลอไรต์ และการเป่าทรายพบชนิดและปริมาณของธาตุตกค้างใกล้เคียงกัน เซอร์โคเนียชนิดพัฒนาขึ้นใหม่มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคไม่ต่างจากเซอร์โคเนียชนิดเซอร์คอนเอ็กซ์ทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในทุกวิธีการกำจัดการปนเปื้อนก่อนทำเทอร์โมไซคลิง ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคของกลุ่มที่ไม่ปนเปื้อนน้ำลาย กลุ่มที่กำจัดการปนเปื้อนของน้ำลายด้วยไอโวคลีน โซเดียมไฮโปคลอไรต์ และการเป่าทรายสูงกว่ากลุ่มที่กำจัดการปนเปื้อนของน้ำลายด้วยเอธานอลและกลุ่มที่ไม่กำจัดการปนเปื้อนของน้ำลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อผ่านการเทอร์โมไซคลิง ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคของทุกกลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคที่ต่ำที่สุดคือกลุ่มเอธานอลและกลุ่มที่ไม่กำจัดการปนเปื้อนของน้ำลาย ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นก่อนเทอร์โมไซคลิงพบความล้มเหลวแบบผสมเป็นส่วนใหญ่ในทุกกลุ่ม พบความล้มเหลวของการยึดติดระหว่างเซอร์โคเนียเฉพาะในกลุ่มเอธานอลและกลุ่มที่ไม่กำจัดการปนเปื้อนของน้ำลาย และพบความล้มเหลวเชื่อมแน่นในชั้นซีเมนต์ในกลุ่มอื่น ๆ หลังการทำเทอร์โมไซคลิง กลุ่มที่ไม่ปนเปื้อนน้ำลาย ไอโวคลีน โซเดียมไฮโปคลอไรต์ และเป่าทรายพบความล้มเหลวแบบผสมทั้งหมด ในขณะที่กลุ่มเอธานอลและกลุ่มที่ไม่กำจัดการปนเปื้อนของน้ำลายพบความล้มเหลวของการยึดติดทั้งหมด สรุปผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคของเรซินซีเมนต์กับเซอร์โคเนียมไดออกไซด์เซรามิกชนิดพัฒนาขึ้นใหม่และเซอร์โคเนียชนิดเซอร์คอนเอ็กซ์ทีไม่แตกต่างกัน การใช้ไอโวคลีน สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ และการเป่าทรายมีประสิทธิภาพเพียงพอในการกำจัดการปนเปื้อนของน้ำลาย และการทำเทอร์โมไซคลิงทำให้ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนระดับจุลภาคลดลงในทุกกลุ่มทดสอบen_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620931016 ฐานิดา กอเจริญรัตนกุล.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.