Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79455
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทศพล ทรรศนกุลพันธ์-
dc.contributor.authorวัชรพล ศิริen_US
dc.date.accessioned2024-05-06T03:19:01Z-
dc.date.available2024-05-06T03:19:01Z-
dc.date.issued2024-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79455-
dc.description.abstractThis thesis aims to study the government's exercise of power in managing the COVID-19 pandemic in two dimensions. The first dimension examines the law enforcement mechanisms used by the government that impacted political demonstrations in Thailand from 2020 to 2022. This is analyzed through the lens of the historical development and the concepts of international human rights principles regarding peaceful assembly, both in normal times and during a state of emergency, as well as through the discourse about sovereign power in the state of exception. The second dimension analyzes the government's exercise of power as characterized by its efforts to establish certain discourses, knowledge, and truths in the society, as well as its attempts to create mechanisms to monitor public assemblies and political movements. The work then explores the resistance by the population against such power. The first dimension’s study finds that international human rights principles has the standpoint of valuing democracy. As such, they give high level of importance and prioritize rights and freedoms related to democratic processes, including freedom of peaceful assembly or freedom of expression, even during pandemic situations. Nevertheless, the government's COVID-19 control laws and measures were also used to suppress political demonstrations and dissenting opinions, which contradicted international human rights principles and values. This kind of exercise of power reveals the government’s attitude towards public assemblies and political movements as threats to its stability, showing the state’s characteristic of being always ready to expand its power and to push out those with dissenting opinions from the sphere of rights and freedom and normalcy, in order to to maintain its power and stability. The subsequent dimension’s study finds that the government utilized its power for the management of the pandemic to create discourses that would suppress and push assemblies and criticisms against the government out of the normal sphere. The contents of the discourses were ones that would establish knowledge and truths about the situation and pandemic management that align with the government's agenda, regardless of being in line with other existing data and contextual relevance. Furthermore, the government's exercise of power also resulted in the establishment of surveillance mechanism against the exercise of freedom of assembly and freedom of expression, which would cause chilling effect among citizens in exercising such freedoms. Nevertheless, due to the widespread political awareness and participation of political expressions on the internet, which resulted in accumulation of social capital and the ability to perform political mobilization, together with certain functioning checks-and-balances mechanism against such exercise of governmental power, the result was that the power could not exert total control on citizens, allowing widespread resistance against such power.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการใช้อำนาจของรัฐบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 กับการชุมนุมทางการเมืองในประเทศไทย ช่วง พ.ศ. 2563-2565en_US
dc.title.alternativeThe Exercise of government powerduring COVID-19 pandemic against political protests in Thailand in 2020-2022en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโควิด-19 (โรค)-
thailis.controlvocab.thashการระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020--
thailis.controlvocab.thashสิทธิมนุษยชน-
thailis.controlvocab.thashสิทธิการชุมนุม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์การใช้อำนาจของรัฐบาลในการจัดการกับสถานการณ์โควิด-19 ในสองมิติ มิติแรกได้แก่การตรวจสอบกลไกการออกและบังคับใช้กฎหมายในลักษณะที่ส่งผลกระทบต่อการชุมนุมทางการเมืองในประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2563-2565 ผ่านพัฒนาการและข้อความคิดเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนสากลว่าด้วยเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉินประกอบกับแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยในสภาวะยกเว้น มิติถัดมาได้แก่การวิเคราะห์การใช้อำนาจของรัฐบาลซึ่งมีลักษณะเป็นความพยายามในการสร้างวาทกรรม ความรู้ ความจริงบางประการให้เกิดขึ้นในสังคม รวมถึงมีลักษณะเป็นการสร้างกลไกการสอดส่องการชุมนุมและการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชน และศึกษาวิเคราะห์ต่อไปถึงการต่อต้านขัดขืนของประชาชนต่อการกระทำของอำนาจเช่นว่านี้ ผลการศึกษาในมิติแรก พบว่าหลักสิทธิมนุษยชนสากลมีจุดยืนที่ให้คุณค่าแก่ความเป็นประชาธิปไตย จึงให้ความความสำคัญที่มากเป็นพิเศษแก่สิทธิเสรีภาพข้อที่เกี่ยวกับกระบวนการประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบหรือเสรีภาพในการแสดงออกแม้จะอยู่ในสถานการณ์โรคระบาด อย่างไรก็ตาม กฎหมายและมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ของรัฐบาลกลับถูกนำมาใช้ปราบปรามการชุมนุมทางการเมืองและการแสดงความคิดเห็นอย่างไม่สอดคล้องกับจุดยืนและหลักการของหลักสิทธิมนุษยชนสากล ในทางตรงกันข้าม การใช้อำนาจของรัฐบาลแสดงให้เห็นถึงมุมมองของรัฐที่มองการชุมนุมและการเคลื่อนไหวทางการเมืองในฐานะภัยความมั่นคง และแสดงให้เห็นตัวตนของรัฐที่พร้อมจะแผ่ขยายอำนาจและเบียดขับผู้ที่เห็นต่างออกไปจากปริมณฑลของสิทธิเสรีภาพและความเป็นปกติเพื่อรักษาอำนาจหรือความมั่นคงเอาไว้ ผลการศึกษาในมิติถัดมา พบว่ารัฐบาลใช้อำนาจในการจัดการกับสถานการณ์โรคระบาดเพื่อสร้างวาทกรรมที่มีเนื้อหาเป็นการเบียดขับการชุมนุมและการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลให้ออกไปจากปริมณฑลของความเป็นปกติ และมีเนื้อหาเป็นการสถาปนาความรู้และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์และการบริหารจัดการกับโรคระบาดในแบบที่รัฐต้องการซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อมูลและบริบทแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการใช้อำนาจในลักษณะที่เป็นการสร้างกลไกการจับตาสอดส่องการใช้เสรีภาพในการชุมนุมและการแสดงออกของประชาชนอันจะทำให้เกิดความเกรงกลัวและงดเว้นการใช้สิทธิเสรีภาพ อย่างไรก็ตาม ด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองประกอบกับบริบทของการมีส่วนร่วมและการแสดงออกในอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้เกิดการสะสมต้นทุนทางสังคมและความสามารถในการการเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นกลุ่มก้อน ประกอบกับกลไกการถ่วงดุลอำนาจของรัฐบางประการที่ยังคงดำรงอยู่ ส่งผลให้เกิดการต่อสู้ขัดขืนต่ออำนาจรัฐเช่นว่าอย่างกว้างขวาง และทำให้อำนาจไม่สามารถกระทำต่อประชากรได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดen_US
Appears in Collections:LAW: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
622032012-วัชรพล ศิริ.pdf5.21 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.