Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79611
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Kannika Kantaruksa | - |
dc.contributor.author | Rungtawan Choijorho | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-04T01:14:32Z | - |
dc.date.available | 2024-07-04T01:14:32Z | - |
dc.date.issued | 2020-08-23 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79611 | - |
dc.description.abstract | Late preterm infants (LPTs) are at risk for more health problems than full-term infants. They require good nutrition for growth, and breast milk contains valuable nutrients. The population of LPTs is increasing globally while exclusive breastfeeding rates decrease. However, limited studies have been conducted to explore exclusive breastfeeding experiences among first-time mothers of LPTs. The objectives of this study were to explore the experiences and management of exclusive breastfeeding among mothers of LPTs. A grounded theory study design was used. Seventeen mothers were recruited from a university hospital in Chiang Mai Province, Thailand. Data were collected by in-depth interviews with an interview guideline. Data collection and analysis were performed simultaneously. The data were analyzed using the constant comparative method for major emergent categories. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.title | Experience of exclusive breastfeeding among first-time mothers of late preterm infants: a grounded theory study | en_US |
dc.title.alternative | ประสบการณ์การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวในมารดาครั้งแรกที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้าย: การศึกษาโดยใช้ทฤษฎีฐานราก | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Breastfeeding | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Infants | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Premature labor | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Premature infants | - |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้ายมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากกว่าทารกครบกำหนด ทารกกลุ่มนี้ต้องการสารอาหารที่ดีเพื่อการเจริญเติบโต และน้ำนมมารดาเป็นสารอาหารที่มีคุณค่า จำนวนประชากรของทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้ายเพิ่มขึ้นทั่วโลกขณะ ที่อัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวลดลง อย่างไรก็ตาม การศึกษาประสบการณ์การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวในมารดาครั้งแรกที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้ายมีค่อนข้างจำกัด การศึกษาครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกยาประสบการณ์และการจัดการการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวในมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้าย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงทฤษฎีฐานราก มารดาผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 17 รายจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ประเทศไทย รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกโดยใช้แนวคำถามการรวบรวมข้อมูลดำเนินการไปพร้อมกับการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบคงที่เพื่อเลือกหมวดหมู่หลัก "การเพียรพยายามให้มีน้ำนมเพียงพอเพื่อให้บุตรมีสุขภาพดี" เป็นหมวดหมู่หลักกระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มารดาครั้งแรกที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้ายใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ หรือทำให้มีน้ำนมเพียงพอสำหรับบุตร เริ่มต้นเมื่อผู้ให้ข้อมูลวางแผนที่จะให้นมบุตรระหว่างการตั้งครรภ์จนกระทั่งให้นมบุตรอย่างต่อเนื่องถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด กระบวนการนี้ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ 1) การเตรียมเพื่อเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เป็นสิ่งแรกที่ผู้ให้ข้อมูลได้วางแผนก่อนที่จะให้นมบุตร เริ่มเมื่อผู้ให้ข้อมูลตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอคก่อนกำหนค ระยะนี้ประกอบด้วยการเสาะแสวงหาและการ ได้รับข้อมูล และการรับประทานอาหารสุขภาพ 2) การเอาชนะปัญหาน้ำนมไม่เพียงพอ เป็นความสำเร็จของผู้ให้ข้อมูลในการจัดการกับปัญหาปริมาณน้ำนมไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เริ่มเมื่อผู้ให้ข้อมูลคลอดก่อนกำหนดจนกระทั่งทารกกลับบ้าน ระยะนี้ประกอบด้วย การเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเพื่อสร้างน้ำนมให้เพียงพอ และการพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้มีน้ำนมเพียงพอระยะสุดท้าย 3) การจัดการเพื่อให้นมบุตรอย่างต่อเนื่อง เป็นความสำเร็จของผู้ให้ข้อมูลในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาโดยไม่ได้หยุดให้นม แม้ว่าจะประสบปัญหาในการให้นมบุตร ระยะนี้เริ่มเมื่อทารกกลับบ้านจนกระทั่ง 6 สัปดาห์หลังคลอด ผู้ให้ข้อมูลจัดการโดยการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาการกระตุ้นปริมาณน้ำนม การปรับกิจวัตรประจำวัน การมุ่งมั่นในการให้นมบุตร และการวางแผนกลับไปทำงาน ผลการศึกษาครั้งนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงประสบการณ์และการจัดการการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวในมารดาครั้งแรกที่มีบุตรเกิดก่อนกำหนดระยะท้ายมารดาในการศึกษาครั้งนี้เพียรพยายามให้มีน้ำนมเพียงพอเพื่อให้บุตรมีสุขภาพดี จนทำให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว ประสบการณ์และการจัดการของมารดาที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อพยาบาลและบุคลากรสุขภาพในการออกแบบการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวในมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้ายต่อไป ผลของรังสีทางทันตกรรมต่อเซลล์สายพันธ์ของท่อน้ำลายมนุษย์ ปัจจุบันรังสีเอกซ์ถูกนำมาใช้ประ โยชน์ทางการแพทย์อย่างมากมาย ขณะเดียวกันคุณสมบัติก่อไอออนของรังสีเอกซ์ก็อาจทำให้เนื้อเยื่อที่ดูดกลืนรังสีเอกซ์ได้รับอันตรายได้ ถึงแม้ว่าปริมาณรังสีเอกซ์ที่ใช้ทางทันดกรรมจะมีปริมาณน้อย ต่อมน้ำลายเป็นอวัยวะที่มักอยู่ในแนวลำรังสีของการถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรมและอาจได้รับผลกระทบจากรังสี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรังสีทางทันตกรรมต่อกระบวนการเพิ่มจำนวนและการแสดงออก โปรตีนในกระบวนการตายของตัวเองและ การเพิ่มจำนวนของเซลล์สายพันธุ์ของท่อน้ำลายมนุษย์ในห้องปฏิบัติการ โดยทำการศึกษาในเซลล์ HSG และ HSY ที่ได้ทดสอบการแสดงออก โปรตีนที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของเซลล์ท่อน้ำลาย คือ คาร์ซิโนเอ็มบริโอนิกแอนติเจนและแลคโตเฟอร์ริน แล้วจึงทดสอบหาระยะเวลาการแบ่งตัวของทั้งเซลล์ HSG และ HSY จากนั้นนำเซลล์ไปรับรังสีทางทันตกรรมที่ปริมาณ 1.1 มิลลิเกรย์ จำนวน 5 ครั้ง 10 ครั้ง และ 20 ครั้ง เมื่อเซลล์แบ่งตัวครั้งที่ 1 ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 6 หลังจากได้รับรังสีแล้วจึงนำไปตรวจวิเคราะห์การเพิ่มจำนวนของเซลล์ด้วยวิธีทดสอบบีอาร์ดียู ทดสอบการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวนของเซลล์ คือ เคไอ-67 และพืซีเอ็นเอ โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการตายของตัวเองของเซลล์คือ บีซีแอลทู และแบกซ์ด้วยวิธีเวสเทิร์นบลอท ผลการทดสอบพบว่าเซลล์ HSG และ HSY มีการแสดงออกของโปรตีนคาร์ชิโนเอ็มบริโอนิกแอนติเจนและแลคโตเฟอร์ริน เซลล์ HSG มีอัตราการแบ่งตัวเร็วกว่าเซลล์ HSY เมื่อนำเซลล์ทั้งสองไปรับรังสี ที่ระยะ การแบ่งตัวครั้งที่ 1 เซลล์ HSG มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในทางกลับกันเซลล์ HSY มีการแบ่งตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การแสดงออกของโปรตีนเคไอ-67 สอดคล้องกับผลข้างต้น ในการแบ่งตัวครั้งที่ 3 เซลล์ HSG มีค่ามัธยฐานเพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.037) เซลล์ HSY มีค่ามัธยฐานลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.037) อัตราส่วนของโปรตีนบีซีแอลทูต่อแบกซ์ของเซลล์ HSG ในการแบ่งตัวครั้งที่ 1 มีค่ามัธยฐานลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.037) เซลล์ HSY ในการแบ่งตัวครั้งที่ 5 อัตราส่วนของโปรตีนบีซีแอลทูต่อแบกซ์มีค่ามัธยฐานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.037) ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เมื่อเวลาผ่านไปเซลล์จะเริ่มฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิม ทำให้ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทดสอบการแสดงออกของโปรตีนพืซีเอ็นเอ เซลล์สายพันธุ์ของท่อน้ำลายทั้งสองชนิดมีการตอบสนองต่อรังสีทางทันตกรรมที่แตกต่างกัน โดยตอบสนองด้วยการเพิ่มหรือลคกระบวนการแบ่งตัว และความสามารถในการตายของตัวเอง ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันอาจเกิดจากอัตราการแบ่งตัวของเซลล์ที่แตกต่างกัน | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
591251004 รุ้งตวรรณ์ ช้อยจอหอ.pdf | 3.1 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.