Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79908
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สิทธิกร คุณวโรตม์ | - |
dc.contributor.author | มัลลิกา ห้องเสงี่ยม | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-07-28T09:11:33Z | - |
dc.date.available | 2024-07-28T09:11:33Z | - |
dc.date.issued | 2567-05-30 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79908 | - |
dc.description.abstract | Introduction: Biomimetic dentistry becomes the cornerstone in the development of restorative materials, which mimic the natural tooth’s characteristics including mechanical, physical, and optical properties. The short fiber-reinforced resin composite (SFRCs) has been used as core build up in severely damaged teeth. SFRCs were presented the denuded fiber exposure and no oxygen inhibited layer after tooth preparation process for indirect restoration, these might inhibit adhesion to resin cement. There was no evidence about SFRCs bonding capacity to resin cement after tooth and core material preparation. Purpose: To evaluate the effect of surface treatment on shear bond strength (SBS) and bond durability between prepared SFRCs and self-adhesive resin cement. Methods: 20 conventional resin composites blocks (filtekTMZ350XT, FT) and 80 SFRCs blocks (everX posteriorTM, EV) with a dimension of 5 mm diameter and 4 mm height, were cross sectioned at middle to obtained 200 resin composite discs (5 mm diameter, 2 mm height) with a cut surface. The resin composite discs were embedded in epoxy resin with exposed the cut surface then polished and stored in distilled water at 37°C for 7 days. The 40 FT specimens were used as control group and 160 EV specimens were randomly divided into 4 groups according to surface treatments methods: no treatment (EV1), silanization (EV2), sandblasting (EV3) and sandblasting with silanization (EV4). Specimens were cemented with resin composite rods (3 mm diameter, 2 mm height) using the self-adhesive resin cement (RelyXTMUnicem) then divided into 2 subgroups; 1) water storage for 24 hours, 2) water storage for 24 hours and thermocycling 10,000 cycles. All specimens were subjected to SBS test. Data were analyzed by Two-way ANOVA and Tukey’s test. Modes of failure were observed by stereomicroscope. Result: The SBS of EV groups was significantly higher than that of FT group (p<0.05). After thermocycling, the SBS was significantly decreased in all group except EV2 (p<0.05). Failure mode analysis showed predominantly mixed failure in EV2, EV3, EV4 and adhesive failure in FT, EV1. Conclusion: SFRCs presented higher SBS to the self-adhesive resin cement than that of conventional resin composite. All of surface treatments of prepared SFRCs resulted in increasing SBS to self-adhesive resin cement. The silanization of prepared SFRCs presented highest bond durability. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | วัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดเสริมความแข็งแรงด้วยไฟเบอร์เส้นสั้น | en_US |
dc.subject | วัสดุก่อแกนฟันเรซินคอมโพสิต | en_US |
dc.subject | ความแข็งแรงยึดเฉือน | en_US |
dc.subject | การปรับสภาพพื้นผิวของวัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดเสริมความแข็งแรงด้วยไฟเบอร์เส้นสั้น | en_US |
dc.subject | ความทนทานของการยึดติด | en_US |
dc.subject | short fiber-reinforced resin composite | en_US |
dc.subject | core build up material | en_US |
dc.subject | shear bond strength | en_US |
dc.title | ผลของการปรับสภาพพื้นผิววัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดเสริมความแข็งแรงด้วยไฟเบอร์เส้นสั้นที่ผ่านการตัดแต่งต่อค่าความแข็งแรงยึดเฉือนและความคงทนของการยึดติดเมื่อทำการยึดติดด้วยเรซินซีเมนต์ | en_US |
dc.title.alternative | Effect of surface treatments on prepared short fiber-reinforced resin composite to shear bond strength and bond durability when using resin cement | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | เรซินทางทันตกรรม | - |
thailis.controlvocab.thash | ซีเมนต์ทางทันตกรรม | - |
thailis.controlvocab.thash | สารยึดติดทางทันตกรรม | - |
thailis.controlvocab.thash | สารยึดติด | - |
thailis.controlvocab.thash | ทันตวัสดุ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ที่มาและความสำคัญ: แนวคิดไบโอมิเมติกส์เป็นหลักสำคัญในการพัฒนาวัสดุบูรณะทางทันตกรรม เพื่อให้วัสดุมีคุณสมบัติเหมือนหรือใกล้เคียงกับโครงสร้างฟันที่สูญเสียไป ทั้งคุณสมบัติด้านกายภาพ คุณสมบัติเชิงกล และให้ความสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติ วัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดเสริมความแข็งแรงด้วยไฟเบอร์เส้นสั้นถูกเลือกใช้เป็นวัสดุก่อแกนฟันในกรณีที่มีการสูญเสียโครงสร้างฟันอย่างมาก อย่างไรก็ตามภายหลังกระบวนการกรอแต่งเพื่อเตรียมสำหรับรองรับชิ้นงานบูรณะทางอ้อม วัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดเสริมความแข็งแรงด้วยไฟเบอร์เส้นสั้นจะแสดงพื้นผิวที่มีการเผยผึ่งของไฟเบอร์และไม่พบชั้นออกซิเจนอินฮิบิท ทั้งนี้ยังไม่พบการศึกษาถึงประสิทธิภาพการยึดติดของวัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดเสริมความแข็งแรงด้วยไฟเบอร์เส้นสั้นที่ผ่านการกรอแต่งต่อเรซินซีเมนต์ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการปรับสภาพพื้นผิวของวัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดเสริมความแข็งแรงด้วยไฟเบอร์เส้นสั้นที่ผ่านการกรอแต่งต่อค่าความแข็งแรงยึดเฉือนและความทนทานของการยึดติดกับเซลฟ์แอดฮีซีฟซีเมนต์ วิธีการวิจัย: ชิ้นงานทรงกระบอกเรซินคอมโพสิตชนิดดั้งเดิมฟิลเทกแซดสามห้าศูนย์เอ็กซ์ที (FiltekTMZ350XT, FT) จำนวน 20 ชิ้น และเรซินคอมโพสิตชนิดเสริมความแข็งแรงด้วยไฟเบอร์เส้นสั้นเอเวอร์เอ็กซ์โพสทีเรีย (EverXposteriorTM, EV) จำนวน 80 ชิ้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร สูง 4 มิลลิเมตร ถูกนำมาตัดขวางตรงกลางชิ้นงานเพื่อเตรียมชิ้นทดสอบขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร สูง 2 มิลลิเมตร จำนวน 200 ชิ้น ชิ้นทดสอบจึงถูกฝังลงในเรซินอีพ็อกซี โดยหันหน้าตัดที่โดนตัดแต่งขึ้นด้านบนและขัดผิวด้วยกระดาษทรายน้ำ จากนั้นนำไปแช่น้ำเป็นเวลา 7 วัน ใช้ชิ้นทดสอบกลุ่มวัสดุฟิลเทกแซดสามห้าศูนย์เอ็กซ์ที จำนวน 40 ชิ้น เป็นกลุ่มควบคุม และแบ่งกลุ่มชิ้นทดสอบกลุ่มวัสดุวัสดุเอเวอร์เอ็กซ์โพสทีเรีย เป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 40 ชิ้น ตามวิธีการเตรียมผิวก่อนการยึดติด ประกอบด้วย ไม่มีการเตรียมพื้นผิวใดๆ (EV1) เตรียมผิวด้วยการทาสารคู่ควบไซเลน (EV2) เตรียมผิวด้วยการเป่าทราย (EV3) และเตรียมผิวด้วยการเป่าทรายร่วมกับทาสารคู่ควบไซเลน (EV4) จากนั้นนำชิ้นทดสอบทุกชิ้นมายึดกับชิ้นงานเรซินคอมโพสิตซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร หนา 2 มิลลิเมตร ด้วยเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ชนิดรีไลน์เอ็กซ์ยูนิเซม (RelyXTM Unicem) หลังจากนั้นแบ่งกลุ่มการทดลองแต่ละกลุ่มเป็น 2 กลุ่มย่อย กลุ่มละ 20 ชิ้น คือ 1) เก็บในน้ำกลั่น 24 ชั่วโมง 2) เก็บในน้ำกลั่น 24 ชั่วโมงและผ่านกระบวนการเทอร์โมไซคลิงจำนวน 10,000 รอบ ชิ้นทดสอบทุกชิ้นถูกทำการทดสอบหาค่าความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินคอมโพสิตที่ผ่านการกรอแต่งกับเรซินซีเมนต์ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติค่าความแข็งแรงยึดเฉือนโดยหาค่าความแปรปรวนสองทางและการทดสอบของตูกี (p<0.05) ศึกษาความล้มเหลวของการยึดติดโดยการสังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงสเตอริโอ ผลการศึกษา: กลุ่ม EV มีค่าความแข็งแรงยึดเฉือนกับเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ สูงกว่า FT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังจากผ่านกระบวนการเทอร์โมไซคลิงค่าความแข็งแรงยึดเฉือนลดลงในทุกกลุ่มยกเว้น EV2 จากการวิเคราะห์ความล้มเหลวของการยึดติด พบความล้มเหลวแบบผสม ในกลุ่ม EV2, EV3, EV4 และความล้มเหลวการยึดติดระหว่างชั้นพื้นผิวของชิ้นงานและเรซินซีเมนต์ ในกลุ่ม FT, EV1 สรุปผลการศึกษา: วัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดเสริมความแข็งแรงด้วยไฟเบอร์เส้นสั้นที่ผ่านการกรอแต่งมีค่าความแข็งแรงยึดเฉือนกับเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ สูงกว่าวัสดุเรซินคอมโพสิตแบบดั้งเดิม ทั้งในกลุ่มที่ไม่ผ่านการเตรียมพื้นผิว และทำการเตรียมพื้นผิวด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งนี้กลุ่มวัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดเสริมความแข็งแรงด้วยไฟเบอร์เส้นสั้นที่เตรียมผิวด้วยการทาสารคู่ควบไซเลนมีค่าความคงทนของการยึดติดสูงที่สุด | en_US |
Appears in Collections: | DENT: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620931032-มัลลิกา ห้องเสงี่ยม.pdf | experimental study | 6.1 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.